Forum
กรุณาล็อคอินด้วย หรือถ้ายังไม่ได้สมัครสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก ขอบคุณครับ
Forum
กรุณาล็อคอินด้วย หรือถ้ายังไม่ได้สมัครสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก ขอบคุณครับ
Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


  
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 50 โปรแกรมเด็ดบน Linux

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin
Admin



50 โปรแกรมเด็ดบน Linux Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: 50 โปรแกรมเด็ดบน Linux   50 โปรแกรมเด็ดบน Linux I_icon_minitimeSun Mar 22, 2009 12:23 pm

ANIMATION SOFTWARE

* Blender 3D: ตัวนี้คิดว่าน่าจะรู้จักกันดีครับ เป็นโปรแกรมสร้างโมเดล 3มิติ รวมถึงสามารถสร้าง อนิเมชั่นได้ด้วย อีกทั้งยังมี Game Engine ในตัว ในขนาดของโปรแกรมที่เล็กจนน่าตกใจ ใครทำงาน หรือมีความสนใจในด้านนี้ ต้องลองครับ
* Pencil (2D): Pencil เป็นโปรแกรมสร้างอนิเมชั่น แบบ 2มิติ ใครเป็นเซียนวาดการ์ตูน ต้องลอง
* KPovModeler: เป็นโปรแกรมช่วยตั้งค่าแสง POV-Ray ใช้ร่วมกับ Blender 3D ก็ดีครับ ช่วยให้แสงในการเรนเดอร์สวยงามขึ้นครับ
* Stopmotion: เป็นโปรแกรมจับภาพ รวมไปถึง สามารถทำออกมาเป็น อนิเมชั่นได้ด้วย
* Synfig (2D): ตัวนี้เป็นโปรแกรมทำ อนิเมชั่น 2มิติ เช่นกันครับ
* Anime Studio 5 (2D): เป็นโปรแกรมทำ อนิเมชั่น 2มิติ อีกเช่นกันครับ แต่ตัวนี้ไม่ฟรี คงจะมีอะไรดีกว่าตัวอื่นๆอยู่ ราคาตกอยู่ที่ $199.99 ครับ ไม่แน่ใจว่ามีตัวทดลองให้เล่นไม๊

AUDIO SOFTWARE

* Audio CD Extractor (ripper): หรือที่ผู้ใช้ Ubuntu เราๆ รู้จักกันในชื่อ Sound Juicer ครับ เป็นโปรแกรมช่วยดึงเพลง จาก CD เพลง ออกมาเก็บเป็นไฟล์ไว้ฟังในเครื่องครับ
* Audacity (recorder): โปรแกรมตัดต่อเสียงอย่างง่ายครับ ใช่งานง่าย คุณภาพดี หัดได้ไม่ยาก แม้คนที่ไม่เคยตัดต่อเสียงมาก่อน
* Sound Converter: โปรแกรมแปลงไฟล์เสียง สามารถแปลงได้ตั้งแต่ mp3, wav, flac ไปจนถึง ogg เลยทีเดียว
* Last Exit (player): Last Exit เป็นโปรแกรมฟังเพลงจาก Last.fm ครับ ใครเป็นแฟน Social Network ของกลุ่มคนฟังเพลงนี้ล่ะก็ ได้เวลา apt กันแล้วครับ
* Hipo iPod Management Tool: เครื่องมือจัดการเพลงสำหรับเครื่อง iPod แสนรักของคุณครับ
* Utube-Ripper: โปรแกรมดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube ตามคำโฆษณาเขาว่า ใช้งานง่าย ไม่ยาก แต่ไม่เคยลองเหมือนกันครับ
* Freqtweak: โปรแกรมในตระกูล Tweak ที่จะช่วยให้เราจัดการกับการดึงโปรแกรมเข้า เอาโปรแกรมออกได้อย่างง่ายดาย

VIDEO SOFTWARE

* VLC: โปรแกรมที่แทบจะทุกคนนั้นรู้จักดี แม้กระทั้งผู้ใช้จากฝั่งวินโดวส์ เพราะมันเป็นโปรแกรมแรกๆ ที่สามารถดูคลิปมือถือได้ Tongue VLC โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดียครอบจักรวาล น้อยมากที่จะไม่สามารถเล่นด้วย VLC ได้ ใครมีปัญหาดูหนังฟังเพลงไม่ได้ ลองปรึกษา VLC ดูครับ
* AcidRip: เป็นโปรแกรมคัดลอก DVD Video รอบรับ codecs หลายๆประเภท เช่น XviD, x264, MPEG, และอื่นๆอีกมากมาก รวมถึงสามารถปรับแต่งค่าต่างๆได้พอสมควร
* Avidemux: โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ มีฟิลเตอร์ให้ใช้อย่างเพียงพอต่อการใช้งาน
* DVD::RIP: โปรแกรมที่จะช่วยแปลง DVD ของคุณให้เป็นไฟล์ที่สามารถดูในเครื่องได้ เช่น AVI เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถแปลงไฟล์ ISO เป็น VOB ได้อีกด้วย
* Gnome Subtitles: โปรแกรมจัดการ Subtitle ครับ ใครชอบแนวนี้ต้องลองครับ
* iriverter: ตัว frontend ของโปรแกรม mencoder ที่จะช่วยให้คุณสามารถ convert วิดีโอได้โดยง่าย
* Wink: โปรแกรมจับ video screencasts เหมาะจะเอาไปทำ video tutorials หรือ presentations เป็นที่ยิ่งครับ
* XBMC Media Center: ตามชื่อเลยครับ มันคือโปรแกรมในกลุ่ม media center นั่นเอง และยังรองรับการใช้งานบน Ubuntu อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย ความสามารถก็เช่นเดียวกับ Media Center ทั่วไปครับ ดูหนัง ฟังเพลง ดูภาพ แสดงรูปภาพศิลปิด หรือปกของอัลบัม

GRAPHICS

* GIMP: คงไม่มีใครไม่รู้จัก GIMP เป็นแน่ครับ ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพคุณภาพสูงตัวนี้ ที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างไรที่ติ
* Hugin: โปรแกรมสร้างภาพ panorama จากภาพที่ถ่ายแบบต่อเนื่องกันครับ ใครรักการถ่ายภาพก็ ได้เวลาหาของเล่นใหม่มาเล่นแล้วคับ
* Comix: โปรแกรมอ่านไฟล์หนังสือที่เป็น comic book ครับ
* FlickrUploader: ไม่แน่ใจว่ามีใครใช้ Flickr กันบ้างไม๊ ถ้ายังคงอัพภาพผ่านหน้าเว็บอยู่ล่ะก็ อย่ามัวเสียเวลาเลยคับ ใช้ Uploader นี่ล่ะเร็วดี
* Inkscape: อีกโปรแกรมที่เป็นที่นิยมไม่แพ้ GIMP ครับ สามารถนำมาใช้งานจริงได้สบายๆ (ทำมาแล้วครับ) ใครยังกังวลว่ามันจะใช้งานไม่ได้ล่ะก็ ได้เวลาลองใหม่แล้วครับ
* Phatch Photo Batch Processor: โปรแกรมจัดการรูปภาพแบบทีละมากๆครับ มีความสามารถพื้นฐานครบถ้วน ตั้งแต่ resize, crop, rotate, add rounded corners, change perspective และอีกมากมาย ที่คุณจะจัดการกับภาพขโยงใหญ่ในไม่กี่คลิก
* QCaD: โปรแกรมเขียนแบบ CAD/CAM ที่คุณภาพสูง รองรับไฟล์จาก AutoCAD ได้ อีกทั้งยังใช้ไฟล์ dxf เป็น format หลักในการจัดเก็บไฟล์อีกด้วย

OFFICE

* xPDF: ชุดเครื่องมือจัดการไฟล์ PDF ซึ่งพ่วงมากับตัว viewer รองรับ PDF มาตรฐาน, Truetype, และ Type 1 fonts สามารถแปลงไฟล์ PDF ไปเป็นไฟล์รูปแบบอื่นได้ด้วยครับ
* AbiWord: โปรแกรม Word Processer ขนาดเล็ก มีความสามารถครบถ้วนตามที่ Word Processor ควรมี
* OpenOffice Writer: โปรแกรม Word Processor รุ่นใหญ่มากความสามารถ ใช้งานแทน MS Office ได้สบายๆครับ
* OpenOffice Spreadsheet: ใช้ทดแทน MS Excel
* OpenOffice Presentation: ใช้ทดแทน MS PowerPoint
* OpenOffice Impress: ใช้ทดแทน MS Publisher
* KAddressBook: โปรแกรมจัดการ Contact
* KOrganizer: เป็นชุดโปรแกรม Organizer มีทั้ง calendar และ scheduling และความสามารถอื่นๆ
* GnuCash: โปรแกรมบริหารจัดการการเงิน เหมาะจะใช้งานทั้งบริหารเงินส่วนตัวหรือใช้ในทางธุรกิจก็ตาม
* xCHM: โปรแกรมสำหรับดูไฟล์ CHM และ HTML

UTILITIES

* GPSDrive: ระบบ navigation ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับตัวรับสัญญาณ GPS โดยเฉพาะ ใครหลงทางบ่อยๆลองเอามาใช้ดูครับ
* Gnome Partition Editor: ตัวจัดการพาร์ทิชั่นมากความสามารถ อีกหนึ่งตัว ที่น่าใช้เป็นอย่างมาก
* Virtual Box OSE: โปรแกรม virtual machine ฟรีๆที่ใช้งานได้ดี ไม่แพ้โปรแกรม VM ตัวอื่นๆครับ
* ClamAV: โปรแกรมฆ่าไวรัสใช้งานง่าย มีติดเครื่องไว้ก็ดีครับ
* Gmount-ISO: โปรแกรมช่วยเมานท์ไฟล์ ISO ครับ ใครจำคำสั่งเวลาเมานท์ไม่ค่อยได้ ลองเอาตัวยร้ไปใช้กันดู

INTERNET

* Opera: อีกหนึ่งเว็บเบราเซอร์ตัวเบาๆ ที่จะช่วยคุณท่องเที่ยวไปในอินเทอร์เน็ตครับ ลองเอาไปเล่นกันดูครับ
* Mozilla Firefox: เว็บเบราเซอร์ที่กำลังมาแรงตัวนี้ ควงไม่ต้องบอกแล้วว่าทำไมถึงควรใช้
* Thunderbird: โปรแกรมอีเมล์ไคลเอนท์ตัวเก่ง ครบถ้วนทุกความสามารถที่โปรแกรมอีเมล์ไคลเอนท์ควรมี
* SeaMonkey: อีกหนึ่งเบราเซอร์มากความเสถียรที่พัฒนามาจาก Firefox ครับ
* Evolution: อีเมล์ไคล์เอนท์ที่รวมความสามารถของ Organizer ไว้ในตัว
* Pidgin IM: โปรแกรมชุด instant messaging ที่รองรับเครือข่ายต่างๆไว้อย่างมากมาย
* gFTP: ของขาดไม่ได้สำหรับคนทำเว็บครับ โปรแกรม FTP ที่ใช้งานได้ง่ายๆ
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin
Admin



50 โปรแกรมเด็ดบน Linux Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: 50 โปรแกรมเด็ดบน Linux   50 โปรแกรมเด็ดบน Linux I_icon_minitimeSun Mar 22, 2009 12:23 pm

AUDIO SOFTWARE: Freqtweak โปรแกรมนี้ผมว่าค่อนข้างจะเฉพาะทางไปหน่อย (สำหรับผู้ใช้ application ทั่วไป)
แต่ก็เป็นของเล่นที่สนุก เอาไว้กระทำกับเสียง สามารถเป็นเสียงสดๆได้ เช่นต่อเข้าทาง Microphone ของคอมพิวเตอร์
หรือเป็นเสียงที่มาจากโปรแกรมอื่น เพราะ Freqtweak สามารถเชื่อมต่อกับเสียงที่สร้างจากโปรแกรมอื่นได้ด้วย Jack
(ลองดู jackd, qjackctl) โดยจุดเด่นคือ กระทำกับเสียงในเชิงของ ความถี่ และเวลา ใช้สำหรับทำเสียงเล่นแปลกๆ หรือออกแบบเสียงต่างๆได้

ส่วนตัวผมอยากแนะนำ Audio Software ที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการทำงานมากๆ หรือ ใช้ง่าย / โด่งดัง

Rhythmbox Music Player (ผมเห็นเขาเลือกมาแทนพวก Audacious และ SoundJuicer ใน Ubuntu 8.10 นี่แหละ)
ใช้ เล่นเพลงต่างๆในเครื่อง หรือ Audio Stream เช่น วิทยุในอินเตอร์เน็ต รวมถึงมีความสามารถ Rip เสียงจาก CD เพลงมาเก็บไว้เป็นรูปแบบต่างๆที่เรา support ได้ด้วย Gstreamer
Jack (ชื่อแพคเกจว่า jackd) และ Qjackctl (interface ของ Jack)
เป็น ระบบ server สำหรับช่วยให้เชื่อมต่อเสียง และ midi ระหว่างแต่ละโปรแกรมได้อย่างอิสระ แล้วแต่ว่าเราจะโยงสายอย่างไร กำหนดว่า out จากไหน ไป in ที่ไหน ได้ทั้งนั้น
(แต่ไม่ได้ใช้ได้กับทุกโปรแกรม ต้องดูว่าโปรแกรมนั้น support Jack หรือไม่ อย่างไร)
Ardour โปรแกรมประเภท Digital Audio Workstation ใช้สำหรับ อัด / มิกซ์เสียง / ใช้เอฟเฟค กับเสียง สามารถอัดเป็นแทร็กต่างๆแยกกันได้ (multitrack)
ปัจจุบัน (เวอร์ชั่น 2.7.x) ใช้งานกับด้าน เสียง ได้ดี แต่หวังว่าเวอร์ชั่น 3 จะออกมาให้ลองกันได้เร็วๆ เพราะสามารถ อัด และแก้ไข midi ได้อีกด้วย
Lilypond เป็นเหมือนภาษาสคริปท์สำหรับใช้สร้างกระดาษโน้ตดนตรี สามารถสร้างโน้ตได้สวยงามเทียบได้กับวิธีการทำด้วยมือในสมัยก่อน สามารถสร้างเป็นไฟล์ PDF งามๆได้ทันที
โปรแกรมที่สามารถแก้ไขโน้ตแบบ WYSIWYG ก่อนที่จะ render ผ่านทาง Lilypond ก็คือ MuseScore ส่วนอีกโปรแกรมที่เอาไว้คีย์โน้ตแบบง่ายๆ และเสถียรกว่า ในปัจจุบัน คือ Denemo
LMMS โปรแกรม sequencer สำหรับแนวเพลงโดยเฉพาะพวก เพลง dance และ electronic ในหลายๆสไตล์ สามารถกระทำกับเสียง synthesizer
และ เล่นไฟล์เสียงได้ (.wav, .ogg..) เทียบได้กับโปรแกรมประเภท Fruity Loop (แต่ไม่ได้เหมาะสำหรับงานอัดเสียงอย่างตระกูล Ardour, Audacity, Rosegarden)

นอกนั้นจากนี้ยังมีโปรแกรมด้านเสียงอยู่อีกมากมายครับ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมสร้างเสียงพูดภาษาต่างๆ หรือช่วยอ่าน (เช่น สำหรับช่วยคนมีปัญหาทางสายตา หรือเพื่อความสะดวกสบาย)
โปรแกรมด้านการ ผลิตงานเสียง และงานเพลง (เช่น ออกแบบเสียง อัดเสียง ยำเสียง ทำงาน mix และ mastering เสียง) โปรแกรมสร้าง Audio CD ก่อนที่จะ burn
โปรแกรมสร้างระบบ Interactive ด้านเสียง และ multimedia (เช่น puredata) และอื่นๆอีกมากมาย
ยัง ไงก็ไว้ลองกันได้ครับ เรียกได้ว่าหลังๆ มีของเล่นในวงการ Audio ออกมาใน Linux, GNU/Linux เพิ่มขึ้นมากมาย จากกลุ่มผู้ใช้และผู้พัฒนาที่เพิ่มขึ้น
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
50 โปรแกรมเด็ดบน Linux
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» การใช้ Grave ในการเปลี่ยนภาษาใน Linux
» Wine 1.1.17 :: โปรแกรมรันไฟล์ Windows บน Linux, Unbuntu

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Forum :: หมวดหมู่ทั่วไป :: Computer :: Open Source !!-
ไปที่: